วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment 2

การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น Systemหรือระบบ หรือไม่?

ตอบ จัดว่าเป็น System


Input
1. การปลูกอ้อย
2. การดูแล รดน้ำอ้อย
3. เก็บเกี่ยวผลผลิต

Process
1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) : ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2. การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification) : น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3. การต้ม (Evaporation) : น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4. การเคี่ยว (Crystallization) : น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) : แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ
6. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) : นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
7. การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) : น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
8. การเคี่ยว (Crystallization) : น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
9. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) : แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
10. การอบ (Drying) : ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย

Output
1. ได้น้ำตาล
2. ได้กากน้ำตาล
3. นำน้ำตาลที่ได้มาบรรจุผลิตภัณฑ์
4. ส่งสินค้าออกสู่ตลาด

ข้อมูลอ้างอิง


เฉลยการบ้านครั้งที่ 2

Input
- โรงงานน้ำตาล
- เครื่องจักร
- วัตถุดิบ
- แรงงาน
- เงินทุน

Process
- การสกัดน้ำอ้อย
- การทำความสะอาดน้ำอ้อย
- การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
- การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก
- การปั่นแยกผลึกน้ำตาล
- การอบ
- การบรรจุถุง

Output
น้ำตาลทราย
กากน้ำตาล
ชานอ้อย


วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment1

1.smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร บอกมา 5 ประการ
2.Android คืออะไร ปกติจะพบสิ่งนี้ที่ไหน
3.Cyber Bully หมายถึงอะไร อธิบายมา 1 ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า 10 บรรทัด


1. Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว สมาร์ทโฟนเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือทั่วไป โดยที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือ เข้าร่วมกับแอปพลิเคชันของโทรศัพท์เองสมาร์ทโฟนสามารถให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ตัวเอง โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มของโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการ

คุณสมบัติของสมาร์ทโฟน
1.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi
2.สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ, ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 เป็นต้น
ประโยชน์ของsmartphone
1.ใช้ในการอ่านเอกสาร File PDF ผ่านโทรศัพท์ได้ โดยไม่ต้องเปิดคอมพิวเตอร์
2.ส่งข้อมูลหรือข้อความเป็นไฟล์ Multimedia ความเร็วสูงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
3.สามารถดาวน์โหลด Application หรือส่วนของโปรแกรมเสริมการใช้งาน เทียบเท่ากับการลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เลยทีเดียว
4.เปิด Application ในการใช้เป็นเครื่องนำทาง คล้ายระบบ GPRS ได้เลยทีเดียว
5.ในกรณีเครื่องหายจะมีระบบ สั่งการจากอีกหนึ่งเครื่องไปยังเครื่องของเราได้ และสามารถค้นหาตำแหน่งบนพื้นโลก ได้อย่างชาญฉลาด

ข้อมูลอ้างอิง



2. Android คือระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์และเน็ตบุ๊ก ที่ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และทางกูเกิลได้นำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ส่วนด้านลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีหรือโอเพ่นซอร์ส (Open Source) ทำให้นักพัฒนาสามารถแก้ไข ดัดแปลงโค้ดแอนดรอยด์ได้อย่างอิสระ และที่สำคัญคือแตกฟรี สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 และแอนดรอย์เวอร์ชั่น 1.0 ถูกปล่อยออกมาใช้งานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2551
          ปัจจุบันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ถูกนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผู้ผลิตมือถือยักษ์ใหญ่หลายเจ้าต่างพัฒนาและผลิตสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ออกมาวางจำหน่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Samsung, HTC, Motorola และ Sony เป็นต้น และทางกูเกิลซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอนดรอยด์ก็ได้ผลิตสมาร์ทโฟนของตัวเองออกมาเช่นกัน เป็นสมาร์ทโฟนตระกูล Galaxy Nexus นั่นเอง

    สามารถพบกับระบบปฏิบัติการนี้ได้  ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับพกพาในรูปแบบต่างๆ เช่น ในโทรศัพท์มือถือ Tablet Smartphone PC Computer Notebook Netbook เป็นต้น


ข้อมูลอ้างอิง



3. Cyber Bully หมายถึงอะไร
 การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์ เช่น อีเมล์ การส่งข้อความ เว็บ ชุมชนออนไลน์ และ โทรศัพท์ รูปแบบการแกล้งประเภทนี้มีตั้งแต่ นินทา ด่าทอ การใส่ร้ายป้ายสี กระทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ผ่านสื่อไซเบอร์ อันได้แก่ อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ ส่งข้อมูลลับของคนอื่นโดยมีเจตนาให้บุคคลนั้นเสียชื่อเสียง และ เสื่อมเสีย เช่น การกล่าวหาในเรื่อง ๆ หนึ่ง ผ่านทางช่องทางต่าง ๆ โดยที่เหยื่อนั้นไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าใครเป็นผู้กระทำ ถึงแม้ว่าการใช้ Social Network ในสังคมไทยในปัจจุบันนั้นถือว่า มีการป้องกันในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว ระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี แต่ก็คงไม่เพียงพอที่ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ Cyber Bullying ขึ้นมาได้ ผู้ใช้ต้องเข้าใจและเท่าทันเหตุการณ์ปัจจุบัน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อป้องกันยังดีกว่ามีปัญหาแล้วค่อยมาแก้ไขการกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งไปยังสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุดบิกินี่ในวันพักผ่อนจากเฟซบุ้คของเจ้านายไปเผยแพร่ต่อทางฟอร์เวิร์ดเมล์ หรือการนำภาพแอบถ่ายในห้องน้ำของใครสักคนที่ได้รับมาไปโพสหน้าเว็บไซต์ให้คนอื่นดูด้วยกัน เป็นต้น
 นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้
http://volunteerconnex.com/2012/cyberbullying